วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

โมเดลปลาทู

โมเดลปลาทูมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนเป้าหมาย (หัวปลา) ส่วนกิจกรรม (ตัวปลา) และ ส่วนการจดบันทึก (หางปลา)

            "หัวปลา" (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนเป้าหมาย ได้แก่ ปณิธานความมุ่งมั่น วิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “คณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “คุณเอื้อ” และ “คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ 

            "ตัวปลา" (Knowledge Sharing-KS) หมายถึง ส่วนกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม

            "หางปลา" (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การจดบันทึก เป็นการจดบันทึกความรู้ เทคนิค เคล็ดลับในการทำงานที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรบันทึกในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ผังมโนทัศน์ (Mind Map) และรูปแบบอื่นๆ ให้สมาชิกในองค์กรเข้าถึง เอาไปปรับใช้ได้ตลอดเวลา และเก็บคลังความรู้เหล่านี้ในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology - ICT) ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป 


อ้างอิง : http://www.lib.su.ac.th/km/index.php/kmis

Bring Your Own Device


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปท้ายบทเรียน การจัดการความรู้ วันพฤหัสที่6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่อง การจัดการความรู้

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจถึงคำว่า ความรู้ Knowled

ประเภทของความรู้  มี  2 อย่าง  คือ


        1.ความรู้แบบชัดแจ้ง ( Explicit  Knowledge )   ความรู้ในรูปแบบศึกษาได้ จากแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นลายลักอักษร 
        2.ความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคน  (Tacit  Knowledge )  ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์จากการกระทำสิ่งต่างๆทำให้เห็นถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งไม่สามารถถ่ายทอดเป็นคำพูดหรือลายลักอักษรได้แต่ ปฎิบัติให้ดูได้

ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ความรู้คงอยู่ได้นั้น คือเราต้องจัดกระบวนเรียนรู้และถ่ายทอดออกไปไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง จะทำให้ความรู้นั้นเป็นประโยชน์ ต่อ ผู้คน ประเทศชาติ และตัวเรา

 ผมพอจะเข้าใจได้ว่าถ้าคนเรามีความรู้อยู่มากมายแต่ไม่มีวิธีการใช้หรือโอกาศข้อมูลนั้นๆในโอกาศต่างๆ
ก็เพราะไม่มีวิธีการจัดการความรู้ นั้นเอง จึงทำให้คนๆ นั้นไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ ซึ่งคนเรานั้นมีข้อมูลต่างๆอยู่ในสมองมากมาย แต่หากเรามานั้งแชร์ข้อมูลในตัวเองแลกเปลี่ยนกับข้อมูลของคนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น มีคน 3 คน คือ ชาวสวนยาง  ช่างไม้  นักวาดภาพ  มานั้งคุยแลกเปลี่ยน ข้อมูลของตัวเองกัน ทำให้ ทั้ง 3 ช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์ เฟนิเจอร์จากไม้ยางพารา  ซึ่งทำให้  เกิด องค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้  และ ประโยชน์ต่อ ทุกคนนั้นเอง


จึงสรุปได้ว่า ความรู้ ที่ดีนั้น จะเกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน นั้นเอง